การศึกษาความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกในปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี

 Title

การศึกษาความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกในปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
A STUDY OF READINESS OF PRIMARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SUPHANBURI PROVINCIAL PRIMARY EDUCATION FOR THE FIRST ROUND QUALITY ASSESSMENT IN ACADEMIC YEAR 2003 BY OUTSIDE ORGANIZATION

Organization : โรงเรียนวัดสกุณปักษี จ.สุพรรณบุรี
Classification :.DDC: 372.072
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกรอบแรก ในปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกรอบแรก ในปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 330 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 109 คน และครูผู้สอน จำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบเลือกตอบและแบบคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และความถี่ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/ for Windows Version 10.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกรอบแรกในปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้ง 2 ด้าน คือ การเตรียมบุคลากร และการดำเนินงานและเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อการประเมิน อยู่ในระดับพอใช้ 2. ปัญหาการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกรอบแรก ในปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้ง 2 ด้าน พบว่าด้านการเตรียมบุคลากรพบปัญหาบุคลากรในโรงเรียนบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพ ขาดทิศทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอก บุคลากรขาดความตระหนัก ไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้ความร่วมมือ ขาดความกระตือรือร้นในการดำเนินงานประกันคุณภาพ ภาระงานมากทั้งงานนโยบายระดับกรม ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อัตรากำลังไม่เพียงพอในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพให้บรรลุเป้าหมาย และหน่วยงานต้นสังกัดขาดการประชาสัมพันธ์ หรือให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ด้านการดำเนินงานและเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อการประเมิน พบว่าโรงเรียนมีความกังวลใจต่อการรวบรวมเอกสารหลักฐาน มีความรู้สึกยุ่งยากใจเห็นว่าเป็นภาระที่นอกเหนือจากงานในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ทิศทางในการดำเนินงานด้านการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอก ขาดงบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และอัตรากำลังครูมีจำกัดทำให้ไม่สามารถดำเนินงานตามภาระงานต่าง ๆ ได้ตามจุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาในการเตรียมความพร้อม ทั้ง 2 ด้าน พบว่าด้านการเตรียมบุคลากร โรงเรียนควรใช้แนวทางในการแก้ปัญหาโดยจัดให้มีประชุมชี้แจงสอดแทรกในการประชุมครูประจำเดือน จัดหาเอกสารที่จำเป็นสำหรับให้บุคลากรได้ศึกษาด้วยตนเอง การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจทั้งจากหน่วยงานระดับปฏิบัติและระดับนโยบาย การไปศึกษาดูงาน ส่งบุคลากรในโรงเรียนเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัด การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้อบรมสัมมนาในหน่วยงาน ขอให้หน่วยเหนือจัดประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่หน่วยงานระดับปฏิบัติอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีการสร้างขวัญและกำลังใจเพื่อความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการดำเนินงานด้านการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อรับการประเมินคุณภาพจากภายนอก ใช้แนวทางในการแก้ปัญหาโดยขอคำแนะจากผู้ที่มีประสบการณ์ ศึกษาแนวทางและรูปแบบที่ชัดเจนในการจัดเตรียมเอกสาร หลักฐานเพื่อการประเมิน ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดชี้แจงให้เข้าใจทิศทางการดำเนินงาน การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานหลักฐานเพื่อการประเมินให้เป็นปัจจุบัน ศึกษาดูงานด้านรูปแบบการรวบรวมเอกสาร หลักฐานจากโรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากภายนอกแล้วต้องการงบประมาณเพิ่มเติม จัดหาเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และระดมความร่วมมือทรัพยากรจากบุคลากรภายนอก
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Created: 2545
Issued: 2548-09-27
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 9747540304
CallNumber: บฑว 372.072 น656ก
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

STEM and STEAM Education in Russian Education: Conceptual Framework