รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3

 รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการสำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3

 บทคัดย่อ

การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการสำหรับ นักเรียนช่วงชั้น ที่3 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการ สำหรับนักเรียนช่วงชั้น ที่3 และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการ สำหรับนักเรียนช่วงช้ันที่3 โดยผู้วิจัย ดำ เนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอน 3ระยะ ดังนี้ระยะที่1การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการ ผู้วิจัยและครูอาสาเข้าร่วมวิจัยร่วมกันพัฒนารูปแบบฯ โดยยึดหลักการเรียนรู้ตามทฤษฎีสร้างสรรค์นิยมและ ประเมินคุณภาพรูปแบบฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ระยะที่2การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการ สหวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จ านวน 17คน ปี การศึกษา 2563โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ และระยะที่ 3การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการ ด้วยการประยุกต์ใช้เกณฑ์ มาตรฐานการประเมินทางการศึกษาของ The Joint Committee on Standards for Education Evaluation และ สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสหวิชาการ ด้วยแบบสอบถามชนิด มาตราส่วนประมาณค่า 5ระดับ ผลการวิจัยพบวา่ 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการ สำหรับนักเรียนช่วงช้ันที่3 หน่วย บึงบอระเพ็ด จำ นวน 10 สัปดาห์ รวม 60 ชั่วโมง ประกอบด้วย เป้าหมาย กระบวนการเรียนรู้ตัวบ่งชี้คำถามหลักภูมิหลังของปัญหาการวัดและประเมินผล และผลจากการประเมิน คุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการโดยผูเ้ชี่ยวชาญพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการ พบว่า มีมาตรฐานการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการ เรียนรู้แบบบูรณาการสหวิชาการในระดับมากที่สุด

รายการอ้างอิง

สิริพร ปาณาวงษ์ สุชาดา ต้ังศิรินทร์และณิชารีย์ ป้อมสัมฤทธิ์(2563)รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสหวิชาการสำหรับนักเรียนช่วงช้ันที่3.บทความวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.ปีที่ 12 ฉบับที่ 1มกราคม-มิถุนายน2564,หน้า1-14


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

STEM and STEAM Education in Russian Education: Conceptual Framework